อีกหนึ่งความภาคภูมิใจที่ OGA ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พัฒนาโครงการหลักสูตรการแพทย์แม่นยำ และประสานงานจนประสบความสำเร็จในการลงนามร่วมกันระหว่าง กรมการแพทย์ และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการพัฒนาหลักสูตรการแพทย์แม่นยําแนวใหม่
https://pmc.dms.go.th/online-course เพื่อพัฒนาบุคคลากรทางการแพทย์กับการรักษาและป้องกันโรคที่คํานึงถึงความผิดปกติของยีน โดยเริ่มเปิดให้ลงทะเบียน 28 ก.พ.นี้แล้ว 4 หลักสูตร และเตรียมอบรม 10 มี.ค. เป้าหมายรองรับมิติใหม่ทางการแพทย์ และยกระดับการสร้างองค์ความรู้ ความถนัดในการวิเคราะห์ ให้แก่แพทย์และบุคคลทั่วไป มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล และวางเป้าขึ้นผู้นําในภูมิภาค
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ทางกรมการแพทย์ โดยสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ ได้จับมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการแพทย์แม่นยํา เพื่อสร้างและเพิ่มศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ และเพิ่มความรู้ให้แก่ประชาชนในมิติใหม่ของระบบสาธรณสุขในประเทศไทย
นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า การแพทย์แม่นยําเป็นแนวทางใหม่ในการรักษาและป้องกันโรค ที่คํานึงถึงความผิดปกติของยีน สภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล การแพทย์แม่นยํากําลังเปลี่ยนแปลงการวิจัยทางคลินิกและชีวการแพทย์ การดูแลสุขภาพ แนวความคิดและมุมมองในการใช้ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงสุขภาพของประชาชนและลดค่าใช้จ่ายของระบบสาธารณสุขของประเทศ
Disruptive Technologies คลื่นลูกที่สามของการปฏิวัติทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ เกิดขึ้นหลังจากการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์กลายเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้อย่างง่ายดาย และมีต้นทุนถูกลงอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมา ประกอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับกลไกของการเกิดโรคต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดพลาดของรหัสพันธุกรรม ทั้งในระดับ DNA RNA และโปรตีน ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดข้อจํากัดในการปรับตัวของระบบการดูแลสาธารณสุข
ทั้งนี้ เพื่อเตรียมการกับการรองรับมิติใหม่ทางการแพทย์นี้ จึงต้องยกระดับความสําคัญในการสร้างองค์ความรู้ ความถนัดในการวิเคราะห์ โดยการวางแผนเนื้อหาและการจัดอบรม (Education & Training) ในรูปแบบต่างๆ ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และบุคคลทั่วไป เพื่อปรับพื้นฐานความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง และมีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล รวมทั้งยังมีเป้าหมายที่จะพัฒนาไปยังระดับผู้นําในภูมิภาคด้วย
กรมการแพทย์มีภารกิจหลักในการพัฒนาวิชาการด้านการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ โดยมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เหมาะสม การเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรด้านการแพทย์เฉพาะทาง จึงมีความจําเป็นที่จะต้องเร่งการสร้างบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ เพื่อการให้บริการและดูแลรักษาผู้ป่วย โดยปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นหนึ่งในแกนหลักสําคัญเพื่อระบบสาธารณสุขไทย
https://pmc.dms.go.th/online-course
https://www.facebook.com/101267645558021/posts/163676752650443/?sfnsn=mo




